TCAS คืออะไร ? เข้าใจได้ใน 3 นาที

TCAS คืออะไร ?

  • TCAS หรือ Thai University Central Admission System เป็นระบบที่ใช้คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาล่าสุด (TCAS64)

ระบบ TCAS มีขึ้นมาเพื่ออะไร ?

  • ต้องการลดการกีดกันที่นั่งของผู้คัดเลือก ลดค่าใช้จ่ายในการสมัคร รวมไปถึงจัดระเบียบการรับสมัครของแต่ละสถาบันให้เรียบร้อยมากขึ้นด้วย

จัดระเบียบ ?

  • ใช่ มีการจัดให้เป็นระบบระเบียบมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
    • มหาวิทยาลัย A รับสมัครและคัดเลือกโดยใช้วิธีการสอบใน “ช่วงต้น” ของการรับสมัครทั้งหมดของปีการศึกษา
    • มหาวิทยาลัย B รับสมัครและคัดเลือกโดยใช้วิธีการสอบใน “ช่วงกลาง” ของการรับสมัครทั้งหมดของปีการศึกษา
    • มหาวิทยาลัย C รับสมัครและคัดเลือกโดยใช้วิธีการสอบใน “ช่วงปลาย” ของการรับสมัครทั้งหมดของปีการศึกษา
  • จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 สถาบันนี้ใช้วิธีการคัดเลือกที่คล้ายคลึงกันนั่นคือ การสอบ แต่จะแตกต่างกันในช่วงเวลารับสมัคร ฉะนั้น ในระบบ TCAS จึงมีการกำหนดช่วงเวลาในการคัดเลือก ตามแต่ละรูปแบบไป เพื่อให้เหมาะสมกับช่วงเวลาต่างๆ

ตามแต่ละรูปแบบ ? แสดงว่าไม่ได้มีแค่รูปแบบการสอบอย่างเดียว ?

  • ใช่แล้ว นอกจากจะใช้วิธีการสอบเพื่อคัดเลือกแล้ว สถาบันต่างๆ ยังมีวิธีอื่นที่ใช้ในการคัดเลือกอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น
    • ยื่นผลการเรียน
    • ยื่นผลงานต่างๆ ทั้งในรูปแบบกิจกรรมที่ได้ทำในช่วงมัธยม หรือผลงานอื่นๆ เฉพาะด้าน
    • ทดสอบความสามารถพิเศษ เช่น ดนตรี กีฬา นาฏศิลป์ หรืออื่นๆ เฉพาะทาง
    • การสอบคัดเลือกด้วยข้อสอบของสถาบันนั้นๆเอง หรือกลุ่มการสอบต่างๆ อย่าง กสพท.
    • หรือแม้กระทั่งการใช้คะแนนสอบต่างๆยื่น เช่น GAT/PAT วิชาสามัญ หรืออื่นๆ เฉพาะทาง ก็ยังมีอยู่เช่นกัน

TCAS จะมีการคัดเลือกในช่วงเวลาไหนบ้าง ?

  • จากที่ผ่านมาจะแบ่งเป็น 5 รอบดังนี้
    1. รอบรับตรงแบบยื่นพอร์ตฟอลิโอ (Portfolio) – ที่จะเน้นไปทางการยื่นผลงานของตนเองเป็นหลัก
    2. รอบรับตรงแบบโควตา – ที่จะเน้นให้สิทธิ์ผู้สมัครเฉพาะกลุ่มไป เช่นพื้นที่การสมัคร โดยอาจมีการคัดเลือกทั้งข้อเขียน และ/หรือ ปฏิบัติ ซึ่งขึ้นกับแต่ละมหาวิทยาลัย
    3. รอบรับตรงแบบร่วมกัน – เป็นรอบที่มีการคัดเลือกตามรูปแบบของแต่ละสถาบัน แต่จะกำหนดให้มาสมัครที่ระบบเดียวกัน (ในปีการศึกษา 2564 ถูกรวมไปกับรอบ Admission แล้ว)
    4. รอบแอดมิชชั่น (Admission) – เป็นรอบที่ให้สมัครที่ระบบเดียวกันเหมือนกัน แต่จะใช้เกณฑ์คะแนนอย่าง เกรด O-NET GAT/PAT มาเป็นตัวคัดเลือก
    5. รอบรับตรงอิสระ – เป็นรอบที่เปิดให้มหาวิทยาลัยเปิดรับสมัครเอง ใช้เกณฑ์ของตนเอง โดยที่มหาวิทยาลัยสามารถกำหนดรูปแบบการคัดเลือกได้อย่างอิสระ

ดูเหมือนผู้สมัครจะมีโอกาสมากขึ้น

  • ใช่เลย ถึงแม้บางคนจะเรียนไม่เก่งในห้องเรียน แต่หากมีความสามารถพิเศษ หรือผลงานต่างๆ ก็มีโอกาสเข้าศึกษาต่อได้ หรือบางคนที่มีทักษะการเรียนที่เก่งอยู่แล้ว ก็มีสนามสอบพร้อมให้คัดเลือกเช่นกัน

มีบ้างไหม ที่บางสถาบันไม่เข้าร่วมกับระบบ TCAS ?

  • มีเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่ราว 95% เข้าร่วม ดูเพิ่มเติมที่ (รับตรง64)

สถาบันที่ไม่เข้าร่วมระบบ ใช้เกณฑ์อะไรในการคัดเลือก ?

  • คล้ายๆกับที่กล่าวมาในข้างต้น ทั้งโควตา และสอบคัดเลือก ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละสถาบันนั้นๆ ทั้งรูปแบบ และเวลาการสมัคร

ทราบได้อย่างไรว่าโครงการไหนเข้าร่วมระบบ TCAS หรือไม่เข้าร่วม ?

  • ดูได้จากระเบียบการรับสมัครที่ประกาศออกมาของแต่ละโครงการ

ติดตามข่าวรับการสมัครได้จากไหนบ้าง ?

  • ติดตามที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ตนเองสนใจก็ได้
  • หรือ ติดตามที่เว็บไซต์เอนท์ตรง.คอม (www.enttrong.com) ก็ได้เช่นกัน ซึ่งจะมีข่าวประกาศออกมาเรื่อยๆ ทั้งโครงการที่อยู่ในระบบ TCAS และไม่ได้อยู่ในระบบ TCAS

มีลิ้งเฉพาะของปีการศึกษา 2564 ไหม ?

มีอะไรอยากจะแนะนำไหม ?

  • พยายามติดตามข่าวสาร และทำความเข้าใจอยู่เรื่อยๆ ขวนขวายด้วยตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าประกาศข่าวปีเก่าๆที่เคยประกาศไปแล้วเพื่อที่จะใช้ดูเป็นแนวทาง (www.enttrong.com/cloud) หรือประกาศข่าวใหม่ๆเพิ่งที่จะประกาศออกมา เพราะสุดท้ายแล้วผลประโยชน์ทั้งหมดที่เราทำ ก็จะตกมาอยู่ที่ตัวเราเอง

ทิ้งท้าย ข่าวประกาศรับสมัครล่าสุด

TCAS มหาวิทยาลัยต่างๆ